วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุป OAS,DSS MIS,TPS,ESS,KWS


ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ


ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)


ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์
เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่องโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless System) ส่งข่าว สารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing & Processing System) ได้แก่การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) โทรสาร (FAX)หรือ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail) เป็นต้น
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Meeting System) เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing),การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing) หรือ ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร และ เสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน เป็นต้น
ระบบสำนักงานอัตโนมัติช่วยให้การทำงานในสำนักงานคล่องตัวขึ้น เช่น ในอดีตลูกค้าจะสั่งสินค้าโดยบันทึกความต้องการลงบนกระดาษแล้วพนักงานขายจึงถือกระดาษนั้นไปยังฝ่ายการตลาด เพื่อนำสินค้าออกมาแต่ในปัจจุบันลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือจากที่ใดของโลกได้โดยผ่านระบบ QAS และก่อให้เกิดระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นนั่นเอง
ระบบ QAS มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
  1.  Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
  2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกันโดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย
  3. Internet คือ การรวมตัวกันของระบบเครือข่ายตามข้อ1 ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
  4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ ดัง 2 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ

·       Post of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขาย และ รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกันสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ
·       Electronic Funds Transfer(EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารทั่วไป


ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ ( Knowledge Work System  : KWS )
ใช้สนับสนุนการทำงานของพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูง(Knowledge Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ เป็นพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ระบบนี้ ใช้รับผิดชอบการสร้างข่าวสารให้เป็นประโยชน์ หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ
ขั้นตอนการพัฒนาฐานความรู้เพื่อการจัดการ (Knowledge Management Systems: KMS) มี 4 ขั้น
  •  Creation         - สร้าง            
  •   Storage          - จัดเก็บ
  •  Distribution    - เผยแพร่                      
  • Application    - จัดการ

กระบวนการในการสร้าง KMS ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ
1.             Infrastructural Evaluation ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้
2.             KM System Analysis, Design and Development ขั้นการประเมินระบบ   การจัดการความรู้  การออกแบบ และการพัฒนา
3.             System Development ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินแล้ว
4.             Evaluation ชั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง
Knowledge Work System  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ฐานข้อมูลการจัดการลูกค้า และการตลาด
2 สารบัญฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานและวิธีการจัดการลูกค้าขององค์กร
3. การเชื่อมต่อองค์ประกอบด้านบัญชี
4. การจัดการคลังสินค้า และการหมุนเวียนอุปกรณ์
5. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสิทธิลูกค้า (Authentication service management)
6. ระบบการจัดการผู้ใช้งานของ KWS

ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)


        เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ TPS
1) มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2) เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3) เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4) เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS

หน้าที่ของ TPS มีดังนี้ (Haag et al.,2000:50)
1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS มีดังนี้ (Turban et al.,2001:277)
•  มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
•  แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
•  กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
•  มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
•  มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
•  TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
•  ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
•  ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
•  มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
•  ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999)
1) Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2) Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3) Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
        เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงินในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM (Haag et al.,2000)
        นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้
หน้าที่ การทำงานของ TPS
  •  งานเงินเดือน (Payroll)

- การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
- การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
  •  การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)

- การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
- การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์
  •  การเงินและการบัญชี

- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ (Finance and Accounting)
- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
- การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
  •  การขาย (Sales)

- การบันทึกข้อมูลการขาย
- การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
- การติดตามข้อมูลรายรับ
- การบันทึกการจ่ายหนี้
- การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
  • วัสดุคงคลัง

- การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน (Inventory Management)
- การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
- การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems:MIS)
              ในการใช้การประมวลผลรายการทำให้การประมวลผลการดำเนินการด้านธุรกิจทำได้รวดเร็วขึ้นและลด ค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานลงได้ แต่จะเห็นได้ชัดว่าข้อมูลที่เก็บได้จากการประมวลผลรายการ สามารถช่วยให้ผู้บริหารนำมาใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินงานได้ดีขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานด้านการจัดการของผู้บริหารขึ้นเรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
               ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหมายถึงกลุ่มของบุคคล, ขบวนการ,ซอฟต์แวร์, ฐานข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกจัดการเพื่อใช้ในการจัดการสารสนเทศที่เกิดขึ้นเป็นประจำให้แก่ผู้บริหารหรือผู้ทำการตัดสินใจ จุดประสงค์หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ อยู่ที่การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการตลาด, การผลิต, การเงิน และส่วนงานอื่นๆ โดยใช้และจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล 



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการผลิตรายงานด้านการจัดการ ซึ่งจะใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจในระดับปฏิบัติงาน, ระดับยุทธวิธี และระดับกลยุทธ์ โดยรายงานที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับระดับของการจัดการในองค์กร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือรายงานตามตารางเวลา (Scheduled Report), รายงานกรณียกเว้น (Exception Report) และรายงานตามคำขอ (Demand Report)
                1. รายงานตามตารางเวลา แสดงข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรที่เกิดขึ้นตาม   ช่วงเวลา อาจจะเป็นช่วงรายวัน, รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี มีลักษณะคล้ายกับ ข้อมูลต้นฉบับที่ผ่านการประมวลผลมาจากหน่วยงานต่างๆ แต่เพิ่มการจัดกลุ่มข้อมูล และการสรุปข้อมูลลงไป เพื่อช่วยให้ผู้จัดการในระดับล่างสามารถตัดสินใจในการ ดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้จัดการระดับสูงกว่าได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการ ด้านการผลิตต้องการรายงานรายวันของสินค้าที่มีตำหนิจากฝ่ายการผลิตและรายงาน รายสัปดาห์ของจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นั้น
                2. รายงานกรณียกเว้น เป็นรายงานที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขบางอย่าง ซึ่งมักจะไม่ปกติ   จึงจำเป็นจะต้องมี รายงานออกมา โดยในรายงานจะมีข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้จัดการใน การตรวจสอบหาสาเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการทำการผลิตรายงานกรณียกเว้นเมื่อมีการทำงานล่วงเวลามากกว่า 10%  ของเวลาการทำงานรวมทั้งหมด เมื่อผู้จัดการฝ่ายผลิตได้รับรายงาน จะทำการหา  สาเหตุที่มีการทำงานล่วงเวลาเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากมีงาน การผลิตมากหรือเกิดจากการวางแผนงานไม่ดี ถ้าเกิดขึ้นจากการวางแผนไม่ดีแล้วจะได้ ทำการปรับปรุงแก้ไขแผนงานต่อไป
                3. รายงานตามคำขอ เกิดขึ้นตามคำขอของผู้จัดการในหัวข้อที่ต้องการ ซึ่งรายงาน อาจจะถูกกำหนดมาก่อนแล้ว แต่ไม่ทำการผลิตออกมาหรืออาจเป็นรายงานที่มีผลมา  จากเหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนใน รายงานอื่น หรือจากข้อมูลภายนอก เช่น  ถ้าผู้จัดการฝ่ายผลิตเห็นการทำงานล่วงเวลามากเกินกำหนดจากรายงานกรณียกเว้น  อาจจะทำการร้องขอรายงานที่แสดงถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ในการทำให้เกิดการ  ทำงานล่วงเวลาเกินกำหนด อาจจะได้แก่รายงานที่แสดงงานในด้านการผลิตทั้งหมด, จำนวนชั่วโมงที่ต้องการในการทำงานแต่ละงาน, และจำนวนการทำงานล่วงเวลา ของแต่ละงาน จะเห็นว่ารายงานนี้จะต้องใช้ข้อมูลที่รวบรวมอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้จัดการต่อไป


ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS)
                  เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน 
ลักษณะของระบบ ESS
                   ESS (Enterprise Support Systrem) ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ถูกออกแบบมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งใช้ในการวางแผนกลยุทธหรือแผนการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ระบบ ESS มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับปัญหาทแบบไม่มีโครงสร้างจึงต้องเน้นที่ความอ่อนตัวในการทำงานและสนับสนุนการสื่อสารมากกว่าที่จะสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะด้านเหมือนในระบบ MIS เท่านั้น ระบบ ESS ใช้ข้อมูลทั้งจากภายนอกองค์กร เช่นตารางการประกาศใช้กฎหมายใหม่ กำหนดการชำระภาษี หรือข้อความโฆษณาจากบริษัทคู่แข่ง และข้อมูลภายในองค์กร โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกกลั่นกรองข้อมูลและนำเสนอเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ช่วยให้การนำเสนอมีความสะดวกและง่ายแก่การรับรู้มากที่สุดเช่น การใช้รูปภาพกราฟฟิก
              ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณทั่วไปและการสื่อสารซึ่งจะตอบคำถามเช่น แนวโน้มการทำธุรกิจในอนาคตควรเป็นประเภทใดบริษัทคู่แข่งมีฐานะการดำเนินงานเป็นอย่างไร จะป้องกันผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แกว่งตัวได้อย่างไร
ลักษณะของระบบ ESS
  1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 
  2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน 
  3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก 
  4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า 
  5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร 
  6. มีระบบรักษาความปลอดภัย
เปรียบเทียบระบบ  ESS กับระบบสารสนเทศอื่น
ลักษณะของระบบ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารESS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
วัตถุประสงค์หลัก
สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจ
ควบคุมตรวจสอบการปฎิบัติการและสรุปผลสภาพการณ์
ข้อมูลนำเข้า
ข้อมูลสรุปจากภายในและภายนอกองค์การ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ผลการปฎิบัติงานขององค์การและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
รายงานวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ การพยากรณ์ การตอบข้อถาม
รายงานสรุป รายงานสิ่งผิดปกติ สารสนเทศที่มีโครงสร้าง
ผู้ใช้
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์
ผู้บริหารระดับกลาง
รูปแบบของการ ตัดสินใจ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ่อยรูปแบบไม่ชัดเจนหรือไม่มีโครงสร้าง
กึ่งโครงสร้าง และ ไม่มีโครงสร้าง
มีโครงสร้างแน่นอน
การใช้ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อม ไม่มีกฎเกณฑ์ แน่นอนตายตัวซึ่งขึ้นกับการเลือกนำข้อมูลไปใช้
ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในสถานการณ์เฉพาะด้านหรือเฉพาะเรื่อง
ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด


ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
     
ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น

คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
- ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
- ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
- ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
- ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
- ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
- ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่กล่าวมานั้นอาจสรุปย่อ ๆ ได้ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน 

             ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น

3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้

• การควบคุมภายใน (internal control)

• การควบคุมภายนอก (external control)

             ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ

2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน

3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์

4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์

                ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน

ทำไมกิจการต้องมีการบริหารการเงิน (Financial Management)

               ตามปกติแล้ว กิจการต้องการเงินทุน (Capital) จำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในสำหรับการลงทุนดำเนินธุรกิจ และขยายกิจการ โดยเงินทุนที่จัดหามานั้น แน่นอนว่า ควรมาจากแหล่งเงินทุนซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด หรือประหยัดสุด (Economy) หลังจากที่ได้เงินมาแล้ว ผู้ประกอบการก็ต้องดำเนินการจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่นั้นในสินทรัพย์ให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) อันจะนำมาซึ่งรายได้ และการเจริญเติบโตของกิจการต่อไป นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องมีการวิเคราะห์ พยากรณ์ และวางแผนทางการเงินในอนาคตเพื่อให้มั่นใจว่า มีเงินทุนพอเพียงในการดำเนินงาน และทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการเงินน้อยที่สุดอีกด้วย

               จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นองค์ประกอบของการบริหารการเงินซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนควรทราบแต่เนื่องจากการเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเป็นจำนวนมากทำให้ต้องใช้เวลาในการคำนวณ อีกทั้งยังต้องการความละเอียดถูกต้องสูงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้กับการบริหารการเงินนั้นจึงถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงิน และลดความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นได้

การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน

                สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงินได้นั้น อาจพัฒนาขึ้นโดยการเขียนโปรแกรมไว้ใช้งานด้วยตนเอง หรืออาจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีก็เป็นได้ ซึ่งหนึ่งในโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้กับการบริหารการเงินอย่างแพร่หลาย ก็คือ โปรแกรม Microsoft Excel นั่นเอง โปรแกรม Microsoft Excel นั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน ทั้งในด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การหามูลค่าของเงินตามเวลา การพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ก็เพราะ Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษคำนวณ (Spread Sheet) ซึ่งช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภทตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นพิเศษทางการเงินซึ่งเรียกว่า "Financial Function" ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จรูปสำหรับการคำนวณหาข้อมูลทางการเงินประเภทต่างๆ อีกด้วย
            ในที่นี้จะยกตัวอย่างบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน เกี่ยวกับ ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ 

บทบาทสำคัญของระบบการชำระเงิน

             ระบบการชำระเงินมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบันมีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมด้านการชำระเงินที่มีความหลากหลาย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การชำระเงินด้วยบัตรพลาสติก อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าว นอกจาจะเอื้อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปมีความสะดวกสบายในการใช้บริการทางการเงินแล้วยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินด้วยการลดการใช้เงินสดซึ่งเป็นสื่อการชำระเงินที่มีต้นทุนสูง
ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการมีระบบอะไรบ้าง มี 3 ระบบได้แก่
(1). ระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ BAHTNET
(2). ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ ECS
(3). ระบบการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร หรือ ระบบ Media Clearing

ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
             หมายความว่า การโอนสิทธิการถือครองเงิน หรือการโอนสิทธิการถอนเงินหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการ ที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการ ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ทั้งนี้ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความหมายกว้าง เป็นอันครอบคลุมการทำธุรกรรมการชำระเงินที่ใช้สื่อหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบในการทำรายการในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อันได้แก่
(1) การส่งคำสั่งทำรายการผ่าน Access Device ต่างๆ โดยผู้ส่งอาจเป็น Payer, Payee, Bank หรือ Payment Service Provider
(2) ประมวลผลหรือบันทึกรายการด้วยบัญชีหรือการเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ Micro Chip
(3) การรับส่งข้อมูลชำระเงินระหว่างขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายอนึ่ง รูปแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันอันมีองค์ประกอบดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จึงมีหลายรูปแบบ ได้แก่
- การให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต
- การให้บริการเครือข่ายอีดีซี (EDC : Electronic Data Capture)
- การให้บริการสวิทส์ชิ่งในการชำระเงิน
- การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)
- การให้บริการหักบัญชี
- การให้บริการชำระดุล
- การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทาง เครือข่าย เช่น โทรศัพท์มือถือ, Internet Payment Gateway
- การให้บริการรับชำระเงินแทน

1. เงินอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง หรือที่อาจเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น Multipurpose Stored Value Card, E-purse, E-Wallet เป็นต้น

2. บัตรอิเล็กทรอนิกส์

ธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

             ถ้านับรวมถึงการให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น เช่น โทรศัพท์ ATM และแฟกซ์ นอกเหนือจากธนาคารทั้ง 5 แห่งข้างต้นแล้ว ยังมี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) ที่ให้บริการด้านนี้อีกด้วย

(1) บริการ Cash Management คือการบริหารด้านการเงินของตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เช่น การสอบถามยอดคงเหลือในบัญชี สอบถามรายการเดินบัญชีปัจจุบันหรือย้อนหลัง สอบถามสถานะ และหรือโอนเงิน สอบถามอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

(2) บริการ Tele-Banking เป็นการใช้บริการของธนาคารผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยลูกค้าจะต่อสายมายังหมายเลขที่ธนาคารเปิดไว้ให้บริการ บริการพื้นฐานของการให้บริการทางโทรศัพท์คือ รับฟังข้อมูลอัตราดอกเบี้ยและแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การโอนเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

(3) บริการ ATM เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับคนทั่วไป โดยจะต้องมีบัตรเอทีเอ็มของธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ จากนั้นเมื่อต้องการฝาก ถอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น

(4) บริการ SVC (Store Value Card) บัตรที่สามารถเก็บมูลค่าของตัวเองได้ เช่น smart card

Smart Card
                สมาร์ตการ์ด คือบัตรพลาสติกที่มีชิพ IC (Integrated circuit) ติดหรือฝังอยู่ในตัวบัตรพลาสติกมีขนาดเท่าบัตรเครดิต เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลภายในตัวเองโดยวิธีการเข้ารหัสตามมาตรฐานเพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยสูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สมาร์ตการ์ดมีความแตกต่างจากบัตรพลาสติกทั่วไปก็คือ ขณะทำรายการ (Transaction) สมาร์ตการ์ดสามารถทำงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารกับระบบหลัก (Font End) นั้นก็คือสมาร์ตการ์ดไม่จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร กับศูนย์กลางข้อมูลเหมือนกับบัตรแถบแม่เหล็ก (Off-line) ทำให้ประหยัดในเรื่องระบบสื่อสารไปได้มาก

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติธนาคารของไทย


วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งตอนนั้นได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทรงก่อตั้ง บุคคลัภย์ (Book Club) ขึ้นที่ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ กรุงเทพฯ ที่นี่เป็นตันกำเนิดของธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในปัจจุบัน

บัตรเครดิตหรือบัตรหนี้

เขียนโดย วิษณุ บุญมารัตน์

Saturday, 13 February 2010

              ในอดีตสมัย นายกฯทักษิณ ชินวัตรได้ใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจฟูเฟื่อง การเงินสะพัด จนทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนใช้เงินในปัจจุบัน และเงินในอนาคตเพื่อซื้อสิ่งต่างๆ ผ่านบัตรเครดิต เช่น ผ่อนโทรศัพท์มือถือ ซื้อคอมพิวเตอร์ จ่ายค่าโรงแรม จ่ายค่าอาหาร เป็นต้น การจับจ่ายใช้สอยที่ทำให้ตนเองรู้สึกมีความสุขอย่างไม่เคยคิดมาก่อน ในสมัยนี้มีความสะดวกสบาย ในบางครั้งท่านแทบไม่ต้องทำอะไร จะมีตัวแทนบัตรแต่ละประเภทโทรติดต่อท่านเชิญชวนให้ท่านสมัครเป็นสมาชิก โดยจะบริการมารับเอกสารถึงที่ ท่านเพียงแต่ลงนามในเอกสาร ท่านก็สามารถมีบัตรเพื่อใช้สร้างหนี้ได้แล้ว

               ปัจจุบันประชาชนเกือบทุกคนมักจะถือบัตรเครดิตอย่างน้อยคนละ 1 ใบ แม้แต่บางคนที่ไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน หรือไม่ได้อยากผ่อนอยากซื้ออะไร ก็ยังสมัครบัตรเครดิตติดกระเป๋าไว้ และบางคนถือบัตรเครดิตทีเดียว 6-7 ใบ ในสมัยที่เศรษฐกิจยังฟูเฟื่องทุกคนเชื่อว่าตนจะสามารถหาเงิน และมีกำลังจะผ่อนส่งหนี้บัตรเครดิตต่างๆ ได้

               อย่างไรก็ตาม สถานการณ์วันนี้ ปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่มีความวุ่นวายและทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที จนทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ยอดการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ลดลง จนบางบริษัทต้องปิดกิจการลง ทำให้ผู้ใช้แรงงานต่างๆ ที่เคยมีรายได้ประจำกลับตกงาน แล้วผู้ที่ถือบัตรเครดิตทั้งหลายที่เคยชินกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตซื้อ สินค้าต่างๆ และจะต้องผ่อนส่งหนี้บัตรเครดิตเป็นประจำทุกๆ เดือน จะยังผ่อนส่งได้อีกหรือ จากที่เชื่อว่าตนเองจะสามารถหาเงินมาจ่ายหรือผ่อนส่งหนี้บัตรเครดิตต่างๆ ได้ ทำให้จำนวนการฟ้องร้องมีจำนวนมากขึ้น เช่น ในศาลแขวงพระนครใต้ จำนวนคดีบัตรเครดิตที่ตัดสิน ปี 2546 มีจำนวน 4,776 คดี และปี 2547 มีจำนวน 7,560 คดี

            แต่ตอนนี้กลับตกงานแม้แต่เงินจะจุนเจือตนเองก็ยังยากจะหาได้ และนับประสาอะไรกับหนี้บัตรเครดิตอีก 6-7 ใบที่ตนถืออยู่ จึงทำให้มีการหมุนเงินกลายเป็นหนี้สะสม หรือบางคนก็ต้องใช้วิธีกดบัตรนี้ไปผ่อนบัตรโน้น กลายเป็นปัญหากับตนเอง เป็นหนี้ท่วมหัวจนแก้ไม่ได้ การมีบัตรเครดิต หากจะมีไว้เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน หรือมีไว้ผ่อนสิ่งที่ตนอยากได้ตามกำลังการผ่อนในแต่ละเดือนที่ตนเองคิดว่า สามารถและมีกำลังที่จะผ่อนไหว ก็คงไม่ผิด และไม่เกิดปัญหาอย่างแน่นอน

            การมีบัตรเครดิต และใช้บัตรเครดิตอย่างไม่มีการวางแผน ไม่มีการคิดก่อนล่วงหน้า หลงเข้าสู่วังวนของกระแสบริโภคนิยม ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย หลงไปกับระบบการใช้เงินล่วงหน้าที่ให้ความสะดวกสบาย มีสภาพคล่องเกินไป เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหรือหมุนเงินไม่ทันจะกลายเป็นหนี้ที่สร้างภาระให้กับ ตนเองได้ จนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเครียดได้

           ดังนั้นจำเป็นที่เราจะต้องตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ เราจะต้องใช้เงินอย่างไม่ประมาท ควรปรับพฤติกรรม เปลี่ยนแนวคิด อยู่ตามอัตภาพ พยายามลด ละ เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็นลง ความพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแก่คนไทยในการดำรงชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ดีและประเสริฐอย่างยิ่ง

         ความพอเพียงไม่ได้หมายถึงขี้เหนียว แต่ต้องใช้เงินให้เหมาะสมกับฐานานุรูป คือมีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น ไม่ไปก่อหนี้เกินตัว หากรู้จักพอเพียงและใช้เงินเป็น แม้จะมีบัตรเครดิต 10 ใบ ก็ไม่กระเทือนกระเป๋า

แหล่งอ้างอิง :

วิษณุ บุญมารัตน์.2549. “วิพากษ์เศรษฐกิจการเมือง ยุค ทักษิณ ชินวัตร” พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส.เอเซีย เพรส

วิษณุ บุญมารัตน์ .2549 . “เศรษฐกิจพอเพียง” .ใน. รัฐสภาสาร.ปีที่ 54 ฉบับ เดือนธันวาคม

http://www.judiciary.go.th/bksmc/creditstat.htm

/////////////////////////

ประกอบกับกระแสบริโภคนิยม อีกทั้งช่องทางของการเงินก็ยังมีความสะดวกมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ธุรกิจบัตรเครดิตมีเป็นจำนวนมากต่างแย่งกันหาลูกค้า โดยจะมีการส่งเสริมการขาย (Promotion) รวมาชิกของบัตรต่างๆ ซึ่งมีบัตรเครดิต, บัตรผ่อนสินค้า หรือบัตรกดเงินสด





ผู้เขียน : อาจารย์ ว่าที่พันตรีวิษณุ บุญมารัตน์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน)จังหวัดชลบุรี ,ใน. บทความวิชาการ " รายการมนุษย์กับสังคม " สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา (ปีงบประมาณ 2552 )