วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติธนาคารของไทย


วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งตอนนั้นได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทรงก่อตั้ง บุคคลัภย์ (Book Club) ขึ้นที่ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ กรุงเทพฯ ที่นี่เป็นตันกำเนิดของธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในปัจจุบัน

บัตรเครดิตหรือบัตรหนี้

เขียนโดย วิษณุ บุญมารัตน์

Saturday, 13 February 2010

              ในอดีตสมัย นายกฯทักษิณ ชินวัตรได้ใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจฟูเฟื่อง การเงินสะพัด จนทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนใช้เงินในปัจจุบัน และเงินในอนาคตเพื่อซื้อสิ่งต่างๆ ผ่านบัตรเครดิต เช่น ผ่อนโทรศัพท์มือถือ ซื้อคอมพิวเตอร์ จ่ายค่าโรงแรม จ่ายค่าอาหาร เป็นต้น การจับจ่ายใช้สอยที่ทำให้ตนเองรู้สึกมีความสุขอย่างไม่เคยคิดมาก่อน ในสมัยนี้มีความสะดวกสบาย ในบางครั้งท่านแทบไม่ต้องทำอะไร จะมีตัวแทนบัตรแต่ละประเภทโทรติดต่อท่านเชิญชวนให้ท่านสมัครเป็นสมาชิก โดยจะบริการมารับเอกสารถึงที่ ท่านเพียงแต่ลงนามในเอกสาร ท่านก็สามารถมีบัตรเพื่อใช้สร้างหนี้ได้แล้ว

               ปัจจุบันประชาชนเกือบทุกคนมักจะถือบัตรเครดิตอย่างน้อยคนละ 1 ใบ แม้แต่บางคนที่ไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน หรือไม่ได้อยากผ่อนอยากซื้ออะไร ก็ยังสมัครบัตรเครดิตติดกระเป๋าไว้ และบางคนถือบัตรเครดิตทีเดียว 6-7 ใบ ในสมัยที่เศรษฐกิจยังฟูเฟื่องทุกคนเชื่อว่าตนจะสามารถหาเงิน และมีกำลังจะผ่อนส่งหนี้บัตรเครดิตต่างๆ ได้

               อย่างไรก็ตาม สถานการณ์วันนี้ ปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่มีความวุ่นวายและทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที จนทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ยอดการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ลดลง จนบางบริษัทต้องปิดกิจการลง ทำให้ผู้ใช้แรงงานต่างๆ ที่เคยมีรายได้ประจำกลับตกงาน แล้วผู้ที่ถือบัตรเครดิตทั้งหลายที่เคยชินกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตซื้อ สินค้าต่างๆ และจะต้องผ่อนส่งหนี้บัตรเครดิตเป็นประจำทุกๆ เดือน จะยังผ่อนส่งได้อีกหรือ จากที่เชื่อว่าตนเองจะสามารถหาเงินมาจ่ายหรือผ่อนส่งหนี้บัตรเครดิตต่างๆ ได้ ทำให้จำนวนการฟ้องร้องมีจำนวนมากขึ้น เช่น ในศาลแขวงพระนครใต้ จำนวนคดีบัตรเครดิตที่ตัดสิน ปี 2546 มีจำนวน 4,776 คดี และปี 2547 มีจำนวน 7,560 คดี

            แต่ตอนนี้กลับตกงานแม้แต่เงินจะจุนเจือตนเองก็ยังยากจะหาได้ และนับประสาอะไรกับหนี้บัตรเครดิตอีก 6-7 ใบที่ตนถืออยู่ จึงทำให้มีการหมุนเงินกลายเป็นหนี้สะสม หรือบางคนก็ต้องใช้วิธีกดบัตรนี้ไปผ่อนบัตรโน้น กลายเป็นปัญหากับตนเอง เป็นหนี้ท่วมหัวจนแก้ไม่ได้ การมีบัตรเครดิต หากจะมีไว้เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน หรือมีไว้ผ่อนสิ่งที่ตนอยากได้ตามกำลังการผ่อนในแต่ละเดือนที่ตนเองคิดว่า สามารถและมีกำลังที่จะผ่อนไหว ก็คงไม่ผิด และไม่เกิดปัญหาอย่างแน่นอน

            การมีบัตรเครดิต และใช้บัตรเครดิตอย่างไม่มีการวางแผน ไม่มีการคิดก่อนล่วงหน้า หลงเข้าสู่วังวนของกระแสบริโภคนิยม ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย หลงไปกับระบบการใช้เงินล่วงหน้าที่ให้ความสะดวกสบาย มีสภาพคล่องเกินไป เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหรือหมุนเงินไม่ทันจะกลายเป็นหนี้ที่สร้างภาระให้กับ ตนเองได้ จนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเครียดได้

           ดังนั้นจำเป็นที่เราจะต้องตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ เราจะต้องใช้เงินอย่างไม่ประมาท ควรปรับพฤติกรรม เปลี่ยนแนวคิด อยู่ตามอัตภาพ พยายามลด ละ เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็นลง ความพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแก่คนไทยในการดำรงชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ดีและประเสริฐอย่างยิ่ง

         ความพอเพียงไม่ได้หมายถึงขี้เหนียว แต่ต้องใช้เงินให้เหมาะสมกับฐานานุรูป คือมีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น ไม่ไปก่อหนี้เกินตัว หากรู้จักพอเพียงและใช้เงินเป็น แม้จะมีบัตรเครดิต 10 ใบ ก็ไม่กระเทือนกระเป๋า

แหล่งอ้างอิง :

วิษณุ บุญมารัตน์.2549. “วิพากษ์เศรษฐกิจการเมือง ยุค ทักษิณ ชินวัตร” พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส.เอเซีย เพรส

วิษณุ บุญมารัตน์ .2549 . “เศรษฐกิจพอเพียง” .ใน. รัฐสภาสาร.ปีที่ 54 ฉบับ เดือนธันวาคม

http://www.judiciary.go.th/bksmc/creditstat.htm

/////////////////////////

ประกอบกับกระแสบริโภคนิยม อีกทั้งช่องทางของการเงินก็ยังมีความสะดวกมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ธุรกิจบัตรเครดิตมีเป็นจำนวนมากต่างแย่งกันหาลูกค้า โดยจะมีการส่งเสริมการขาย (Promotion) รวมาชิกของบัตรต่างๆ ซึ่งมีบัตรเครดิต, บัตรผ่อนสินค้า หรือบัตรกดเงินสด





ผู้เขียน : อาจารย์ ว่าที่พันตรีวิษณุ บุญมารัตน์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน)จังหวัดชลบุรี ,ใน. บทความวิชาการ " รายการมนุษย์กับสังคม " สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา (ปีงบประมาณ 2552 )