วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( The Stock Exchange of Thailand - SET) 
            เป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518[3] ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
             เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มี 2 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น. ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น. และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ
การดำเนินงานหลัก
1.  การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน 

· บริษัทจดทะเบียนประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็ม เอ ไอ

         · บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET)

         · บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

· หลักทรัพย์จดทะเบียน

          · หุ้นสามัญ (Common Stocks)

         · หุ้นบุริมสิทธิ (Prefer Stocks)

         · หน่วยลงทุน (Unit Trusts)

         · ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)

        · ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์ (Warrant)

        · ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Tranferable Subscription Right:TSR)

        · ใบสำคัญแสดงสิทธิที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Deposit Receipt:DR)

        · ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือวอแรนท์อนุพันธ์ (Derivative Warrants:DW)

        · กองทุน ETF (Exchange Traded Fund)

        · หุ้นกู้ (Debentures)

        · พันธบัตร (Bond)

2.การให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์

· ระบบซื้อขายหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์ฯได้พัฒนาระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Automated System For the Stock Exchange of Thailand:ASSET) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทสมาชิกและผู้ลงทุน โดยคำสั่งชื้อขายหลักทรัยพ์ที่ส่งเข้ามาจากบริษัทสมาชิก ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จะทำการจับคู่คำสั่งซี้อขายโดยอัตโนมัติ (Automatic Order Matching:AOM) ซึ่งจะเป็นไปตามเกณฑ์การจัดลำดับของราคาและเวลา โดยคำสั่งซื้อขายที่มีลำดับราคาและเวลาที่ดีที่สุดจะถูกจับคู่ซื้อขายก่อนหลังจากที่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขายแล้ว ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จะยืนยันรายการซื้อขายดังกล่าวกลับไปยังบริษัทสมาชิก เพื่อให้ทราบผลในทันที

นอกจากนี้ยังมีการซื้อขายรองที่เรียกว่า Put-through (PT) ซึ่งเป็นการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อและบริษัทสมาชิกผู้ขายได้เจรจาตกลงการซื้อขายกันก่อนแล้ว จึงให้บริษัทสมาชิกผู้ขายเป็นผู้บันทึกรายการซื้อขายเข้ามาในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริษัทสมาชิกผู้ซื้อเป็นผู้รับรองรายการซื้อขายดังกล่าว

· AOM : วิธีการซื้อขายแบบจับคู่คำสั่งอัตโนมัติ เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งคำสั่งซื้อขายผ่านคอมพิวเตอร์เข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพยฯ โดยระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพยฯจะเรียงลำดับและจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติด้วยหลักการราคาและเวลาที่ดีที่สุดซึ่งหมายความว่าคำสั่งซื้อที่มีราคาสูงที่สุดและคำสั่งราคาขายที่ราคาต่ำที่สุดจะถูกจัดคู่ซื้อขายก่อน

· PT : เป็นวิธีซื้อขายแบบมีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นวิธีการซื้อขายที่บริษัทหลักทรัพย์ผู้ซื้อและผู้ขายทำความตกลงซื้อขายหุ้นกันเอง เมื่อตกลงซื้อขายกันได้แล้วก็จะบันทึกรายละเอียดของรายการซื้อขายดังกล่าวผ่านระบบการซื้อขายเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ฯทราบ ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯอนุญาตให้ใช้การซื้อขายแบบ PT สำหรับการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot Trading) หรือเป็นการซื้อขายหุ้นที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ

สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย

· NP (Notice Pending) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ส่งงบการเงินหรือรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียน

· NR (Notice Received) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับการชี้แจงข้อมูลหรือรายงานจากบริษัทจดทะเบียนที่ขึ้นเครื่องหมาย NP แล้ว และจะขึ้นเครื่องหมาย NR เป็นเวลา 1 วัน

· H (Trading Halt) :เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย

· SP (Trading Suspension) :เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย

· XD (Excluding Dividend) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากผู้ลงทุนต้องการจะได้สิทธิในเงินปันผลดังกล่าว จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD

· XR (Excluding Right) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนในครั้งนั้นของบริษัท หากผู้ลงทุนต้องการได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XR

· XW (Excluding Warrant) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XW ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์

· XA (Excluding All) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XA ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับทั้งเงินปันผล ดอกเบี้ย และ สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทได้ประกาศจ่ายและจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ เครื่องหมายนี้จึงเหมือนกับเป็นเครื่องหมาย XD รวมกับ XR หรือ XW รวมกับ XR

กระดานการซื้อขายหลักทรัพย์หน่วยการซื้อขายและช่วงราคา
· กระดานหลัก (Main Board)

· กระดานหน่วยย่อย (Odd Board)

· กระดานพิเศษ (Special Board)

· กระดานรายใหญ่ (Big Lot Board)

· กระดานต่างประเทศ (Foreign Board)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดจำนวนหุ้นที่จะทำการซื้อขายบนกระดานหลัก เป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไป 1 หน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 100 หุ้น เท่ากันทุกหลักทรัพย์เช่นการซื้อขายหลักทรัพย์ ABC จำนวน 10 หน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 1,000 หุ้น ยกเว้นหลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกันจะกำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายเท่ากับ 50 หุ้น ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการซื้อขายหุ้นเป็นเศษของหน่วยการซื้อขาย เช่น 15 หุ้น , 77 หุ้น จะต้องซื้อขายบนกระดานหน่อยย่อย (Odd Lot Board)

ข้อกำหนดการซื้อขายหลักทรัพย์ตามช่วงราคา ขึ้นอยู่กับระดับราคาซื้อขายของแต่ละหลักทรัพย์ในขณะนั้นๆ ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ตั้งแต่ช่วงราคาละ 0.01 บาท จนถึง 2.00 บาท ช่วงราคา (เริ่มใช้ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป)

ระดับราคาเสนอซื้อ                  ช่วงราคา (บาท) 
ต่ำกว่า 2 บาท                                  0.01
ตั้งแต่ 2 บาท แต่ต่ำกว่า 5 บาท          0.02
ตั้งแต่ 5 บาท แต่ต่ำกว่า 10 บาท         0.05
ตั้งแต่ 10 บาท แต่ต่ำกว่า 25 บาท       0.10
ตั้งแต่ 25 บาท แต่ต่ำกว่า 100 บาท     0.25
ตั้งแต่ 100 บาท แต่ต่ำกว่า 200 บาท   0.50
ตั้งแต่ 200 บาท แต่ต่ำกว่า 400 บาท   1.00
ตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป                         2
Image

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI) 

เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 มีจุดประสงค์การทำงานโดยทั่วไป เหมือนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือ ทำหน้าที่เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ แต่ตลาดใหม่นี้ จะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่ำของหลักทรัพย์ในตลาดหลัก คือ 200 ล้านบาท ในขณะที่ขั้นต่ำของตลาดใหม่ ลดลงเป็น 40 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงหรือบริษัทที่เริ่มดำเนินกิจการไม่นานแต่มีมูลค่าราคาตลาดที่สูงโดยถือเป็นทางเลือกอีกแห่งในการระดมทุน บริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตและต้องการระดมทุน หุ้นที่อยู่ในตลาดนี้จึงเป็นบริษัทขนาดกลางหรือเล็ก ซึ่งกฏเกณฑ์ในการจะเข้าตลาดได้จะผ่อนปรนกว่าการเข้าตลาดหลักทรัพย์ (SET) เช่น
สถานะ เป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ มีทุนชำระแล้ว > 20 ล้านบาท
การกระจายการถือหุ้นรายย่อย > 300 ราย ถือหุ้นรวมกัน > 20% ของทุนชำระแล้ว
การเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนจากสำนักงาน ก . ล. ต. จำนวนหุ้นที่เสนอขาย > 15 % ของทุนชำระแล้ว
ผลการดำเนินงาน มีผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง > 2 ปีก่อนยื่นคำขอ โดยมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ > 0 ไม่นับรวมต้นทุนทางการเงิน
กรณีผลการดำเนินงาน < 2 ปี ต้องมีผลการดำเนินงาน > 1 ปี และ Market Cap > 1,500 ล.บ.
ฐานะการเงิน ส่วนของผู้ถือหุ้น > 20 ล้านบาท

เวลาการซื้อขาย

ช่วงเวลาการซื้อขาย
หมายเหตุ
9.30 น.- T1
http://www.mai.or.th/images/spacer.gifPre-opening I
T1 เป็นเวลาที่ได้รับการสุ่มเลือกเวลา เพื่อเลือกหาเวลาเปิดในช่วง 9.55-10.00น.และเป็นช่วงเวลาที่ให้สมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา เพื่อให้ระบบ การซื้อขายนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมด มาเรียงลำดับและคำนวณหา ราคาเปิดสำหรับ การซื้อขายในช่วงเช้าของแต่ละหลักทรัพย์
T1 - 12.30 น. Trading Session I ช่วงเวลาซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเช้า
12.30 น.-14.00 น. Intermission ช่วงเวลาพักการซื้อขายระหว่างวัน
14.00 น.- T2 Pre-opening II T2 เป็นเวลาเปิดที่ได้รับจากการสุ่มเลือกเวลา เพื่อเลือกหาเวลาเปิดในช่วง 14.25-14.30 น. และเป็นช่วงเวลาที่ให้สมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา เพื่อให้ระบบการซื้อขาย นำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดมาเรียงลำดับและ คำนวณหาราคาเปิดสำหรับการซื้อขายในช่วงบ่ายของแต่ละหลักทรัพย์
T2 - 16.30น. Afternoon Trading
Session
ช่วงเวลาซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงบ่าย
16.30 น.- T3 Call Market เป็นช่วงเวลาที่ให้สมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาที่ระบบการซื้อขาย เพื่อให้ระบบการซื้อขายนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดมาเรียงลำดับ และคำนวณหาราคาปิดของแต่ละหลักทรัพย์โดยยังไม่มีการจับคู่ซื้อขาย จนกระทั่งระบบได้มีการ สุ่มเลือกเวลา เพื่อเลือกหาเวลาปิด (T3)ในช่วง 16.35-16.40 น.
T3 - 17.00 น. Off-hour Trading และ Market Runoff Period ตลาดหลักทรัพย์ปิดรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไป แต่อนุญาตให้สมาชิกสามารถดำเนินการ :
1. บันทึกรายการซื้อขายภายใต้หลักเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ
(Off-hour Trading) โดยซื้อขายด้วยวิธี Put-through เท่านั้น

2. ยกเลิกการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับการซื้อขายแบบ Put-through ทั้งนี้การยกเลิกดังกล่าวต้องเป็นที่ยินยอมของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

3. แก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทบัญชีลูกค้า (P/C Flag) โดยสามารถแก้ไขได้ทั้งการ ซื้อขายแบบ Automatic Order Matching และ Put-through
17.00 น. Market Close ตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการซื้อขาย


             Image



TFEX: Thailand Futures Exchange หรือ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)



              เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยมีกำหนดการว่าจะเปิดการซื้อขายในวันที่ 28 เมษายน 2549 เป็นวันแรก
เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการบริหารเงินลงทุนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเป็นทางเลือกของการลงทุน ภายใต้ระบบซื้อขายที่มีความยุติธรรม โปร่งใส มีสภาพคล่อง และมั่นใจในระบบการซื้อขายและการชำระราคา
- เพื่อให้ผู้ลงทุนมีแหล่งข้อมูลที่สะท้อนความคาดหวังของผู้ที่อยู่ในตลาดที่มีต่อราคาสินทรัพย์ในอนาคต ส่งผลให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             จากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สินค้าที่สามารถซื้อขายในบมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ ได้ คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชัน (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ ได้แก่
             ? อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์
             ? อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
             ? อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่นๆได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน โดยในช่วงแรกของการเปิดตลาดนั้น TFEX ได้กำหนด ให้ สินค้าที่จะทำการซื้อขายได้แก่ ดัชนี SET 50 หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SET 50 Index Futures
            SET50 Index Futures คือ สัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันในวันนี้ ว่าจะซื้อขาย SET50 Index ในราคาหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า (เช่น 3 เดือน, 6 เดือน เป็นต้น) และเนื่องจาก SET50 index นั้นเป็นดัชนีไม่ใช่หุ้น ผู้ซื้อผู้ขายไม่สามารถส่งมอบดัชนีกันได้ จึงมีการจ่ายชำระเงินกำไรขาดทุนกันแทน ทั้งนี้ เงินกำไรขาดทุนนั้น จะคำนวณจากส่วนต่างระหว่างระดับดัชนีที่ตกลงกันในวันนี้ กับ ระดับดัชนีในอนาคต แล้วแปลงให้เป็นจำนวนเงิน
           ราคาในตลาด Futures หรือ ราคาในอนาคตนั้น อาจจะ มากหรือน้อยกว่า ราคาในตลาดจริง หรือตลาดปัจจุบันก็ได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนในการถือครอง และ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ว่าอะไรจะมากกว่ากัน โดย แยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
1. ราคาฟิวเจอร์ส (Future Price: F) ของสินทรัพย์ทางการเงิน เท่ากับ ราคาสินค้าในปัจจุบัน(Spot Price: S) บวกด้วยต้นทุนในการกู้ยืมเงินเพื่อถือสินทรัพย์จนถึงวันครบกำหนด หักลบกับ ผลตอบแทนจากตราสารทางการเงินนั้น
                                                         F=S+SrT-Sdt

F = ราคาสินค้าในอนาคต (Future price), S = ราคาสินค้าในปัจจุบัน (Spot price), r = ต้นทุนในการกู้ยืมเงิน (%), d = ผลตอบแทนจากตราสารทางการเงิน (%), T = อายุคงเหลือของสัญญา
2. ราคาฟิวเจอร์ส ของสินค้าโภคภัณฑ์ เท่ากับ ราคาสินค้าในปัจจุบัน บวกด้วยต้นทุนในการกู้ยืมเงินเพื่อถือสินค้าจนถึงวันครบกำหนด หักลบกับ ผลตอบแทนจากการถือครองสินค้านั้น

                                                    F=S+SrT+SwT-SyT

F = ราคาสินค้าในอนาคต (Future price), S = ราคาสินค้าในปัจจุบัน (Spot price), r = ต้นทุนในการกู้ยืมเงิน (%), d = ผลตอบแทนจากตราสารทางการเงิน (%), w = ต้นทุนในการถือครองสินค้า (%), y = ผลตอบแทนจากการถือครองสินค้า (%), T = อายุคงเหลือของสัญญา
ผู้ลงทุนในตลาด TFEX แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ ผู้ถัวความเสี่ยง (Hedgers), นักเก็งกำไร (Speculators) และ นักค้ากำไร (Arbitrageur) โดยมีรายละเอียดแต่ละประเภทดังนี้
          ? ผู้ถัวความเสี่ยง (Hedgers) คือ ผู้ที่ต้องการจะประกันความเสี่ยงของราคาสินค้าที่ตัวเองถือครองอยู่ โดยใช้กลไกของตลาด Futuresในการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อผู้จัดการกองทุนหนึ่ง มีมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ 100,000,000 บาท โดยลงทุนอยู่ในหุ้นทั้ง 50 ตัว ใน SET50 แต่เนื่องจากสภาพตลาดหุ้นในช่วงนั้นมีความผันผวน และอาจจะมีแนวโน้มลงได้ ซึ่งจะทำให้มีผลขาดทุน โดยผู้จัดการกองทุนยังไม่ต้องการขายหุ้นดังกล่าวทิ้งไป เพราะกำลังรอปันผลที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตอยู่ แต่ใน 3 เดือนข้างหน้านี้ คาดว่าหุ้นจะลงไปประมาณ 10% ของราคาปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ผู้จัดการกองทุนขาดทุนได้ ดังนั้นผู้จัดการกองทุนนี้ จึงทำการ Short Position ไว้ใน ตลาด TFEX ณ ราคาในปัจจุบันของตลาด หากว่าอีก 3 เดือนข้างหน้า หุ้นตกจริง ผู้จัดการกองทุนก็จะขาดทุนในตลาดหุ้น แต่จะได้กำไร จากการเปิด Short Position ในตลาดฟิวเจอร์สไว้ มาชดเชย และถึงแม้ว่าหุ้นจะไม่ตกจริงๆ อย่างที่ผู้จัดการกองทุนคาดไว้ ก็ยังคงได้กำไร จากตลาดจริง มาชดเชยในส่วนที่คาดทุนจากตลาด ฟิวเจอร์สได้ ดังนั้น ผู้จัดการกองทุน สามารถจำกัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยใช้ตลาดฟิวเจอร์ส
          ? นักเก็งกำไร (Speculators) เป็นผู้ที่เข้ามาสู่ตลาดโดยหวังกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาขาย โดยยอมรับความเสี่ยงที่อาจขาดทุนได้หากทิศทางของราคาไม่เป็นไปตามที่คาด เช่น หากนักลงทุนเห็นราคาในตลาดฟิวเจอร์สต่ำเกินไป คือคาดว่า ราคาในอีก 3 ? 6 เดือนข้างหน้า ราคาน่าจะสูงกว่านี้ นักลงทุนก็สามารถ เข้ามาเปิด Long Position ไว้ เมื่อราคาขึ้นจริงๆ ใน 3 เดือนต่อมา นักลงทุนก็สามารถปิดสถานะ โดยทำการ Short Position ในสัญญานั้น เพื่อรับกำไร แต่หากคาดการณ์ผิดทาง ก็อาจทำให้มีผลขาดทุนได้ด้วยเช่นกัน
          ? นักค้ากำไร (Arbitrageurs) เป็นผู้ที่เข้ามาทำกำไรในความไม่เท่าเทียมกันของข่าวสารข้อมูลในตลาด เช่น ในกรณีที่ราคาปัจจุบันของ SET 50 Index ต่ำกว่า ราคา Futures ของ SET 50 Index นักค้ากำไร จะซื้อหลักทรัพย์ใน SET 50 Index ในตลาดจริง และเปิดสถานะ Short Position ในตลาดฟิวเจอร์ส และนักค้ากำไร ก็จะได้กำไรจากทั้ง 2 ตลาด แต่เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดไม่บ่อยนัก เพราะเมื่อนักลงทุนเห็นช่องว่างของราคาดังกล่าวก็จะเข้ามาในตลาดทั้งสอง โดยทำให้ราคาในตลาดจริงสูงขึ้น และทำให้ราคาในตลาดฟิวเจอร์สต่ำลง จนไม่มีช่องว่างของราคาพอที่จะทำกำไรได้อีก
บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ มีแผนจะเปิดให้ซื้อขายฟิวเจอร์สของดัชนี SET50 (SET50 Index Futures) เป็นสินค้าแรก และต่อไปจะจัดให้มีการซื้อขายฟิวเจอร์สของสินค้าอ้างอิงในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล (Bond Futures) หรือฟิวเจอร์สของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Futures) สำหรับฟิวเจอร์ส และ ออปชันของสินค้าอ้างอิงประเภทอื่น ๆ นั้น จะเปิดให้ซื้อขายในลำดับต่อ ๆ ไป
             สัญญาฟิวเจอร์ส นั้น หมายถึง สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นสัญญาที่ถูกจัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย โดยกำหนดว่าจะมีการซื้อขายสินค้าอ้างอิง (Underlying) อย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต ตามราคาที่ตกลงไว้ โดย ในตลาด TFEX นี้มีข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า สินค้าตัวแรก คือ SET 50 Index Futures ดังนี้ ?? คลิกที่นี่
            ผู้ที่เข้ามาลงทุนใน TFEX ไม่จำเป็นเพราะ นักลงทุนที่เข้ามาอาจจะเข้ามาในฐานะของนักเก็งกำไร ก็ได้ โดยคาดการณ์ว่า ราคาควรจะไปในทิศทางใด เช่น หากคาดว่าราคาจะขึ้น ก็ให้เปิดสถานะ Long Position ก่อน เมื่อราคาขึ้นจริง ก็ปิดสถานะ โดย Short Position และรับกำไรที่ได้จากส่วนต่างของราคา หรือถ้าคาดว่าราคาจะลง ก็ให้เปิดสถานะ Short Position ก่อน เป็นต้น 

Image

ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)
         จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด
AFET

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) 

           เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย

          เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปีพ.ศ. 2542 และเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ โดยภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎระเบียบที่ชัดเจน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และเพื่อให้การจัดตั้งตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้าบรรลุวัตถุประสงค์คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้นำเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 600 ล้านบาทเพื่อใช้ในการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุป OAS,DSS MIS,TPS,ESS,KWS


ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ


ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)


ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์
เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่องโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless System) ส่งข่าว สารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing & Processing System) ได้แก่การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) โทรสาร (FAX)หรือ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail) เป็นต้น
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Meeting System) เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing),การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing) หรือ ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร และ เสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน เป็นต้น
ระบบสำนักงานอัตโนมัติช่วยให้การทำงานในสำนักงานคล่องตัวขึ้น เช่น ในอดีตลูกค้าจะสั่งสินค้าโดยบันทึกความต้องการลงบนกระดาษแล้วพนักงานขายจึงถือกระดาษนั้นไปยังฝ่ายการตลาด เพื่อนำสินค้าออกมาแต่ในปัจจุบันลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือจากที่ใดของโลกได้โดยผ่านระบบ QAS และก่อให้เกิดระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นนั่นเอง
ระบบ QAS มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
  1.  Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
  2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกันโดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย
  3. Internet คือ การรวมตัวกันของระบบเครือข่ายตามข้อ1 ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
  4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ ดัง 2 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ

·       Post of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขาย และ รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกันสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ
·       Electronic Funds Transfer(EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารทั่วไป


ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ ( Knowledge Work System  : KWS )
ใช้สนับสนุนการทำงานของพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูง(Knowledge Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ เป็นพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ระบบนี้ ใช้รับผิดชอบการสร้างข่าวสารให้เป็นประโยชน์ หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ
ขั้นตอนการพัฒนาฐานความรู้เพื่อการจัดการ (Knowledge Management Systems: KMS) มี 4 ขั้น
  •  Creation         - สร้าง            
  •   Storage          - จัดเก็บ
  •  Distribution    - เผยแพร่                      
  • Application    - จัดการ

กระบวนการในการสร้าง KMS ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ
1.             Infrastructural Evaluation ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้
2.             KM System Analysis, Design and Development ขั้นการประเมินระบบ   การจัดการความรู้  การออกแบบ และการพัฒนา
3.             System Development ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินแล้ว
4.             Evaluation ชั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง
Knowledge Work System  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ฐานข้อมูลการจัดการลูกค้า และการตลาด
2 สารบัญฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานและวิธีการจัดการลูกค้าขององค์กร
3. การเชื่อมต่อองค์ประกอบด้านบัญชี
4. การจัดการคลังสินค้า และการหมุนเวียนอุปกรณ์
5. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสิทธิลูกค้า (Authentication service management)
6. ระบบการจัดการผู้ใช้งานของ KWS

ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)


        เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ TPS
1) มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2) เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3) เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4) เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS

หน้าที่ของ TPS มีดังนี้ (Haag et al.,2000:50)
1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS มีดังนี้ (Turban et al.,2001:277)
•  มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
•  แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
•  กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
•  มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
•  มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
•  TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
•  ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
•  ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
•  มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
•  ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999)
1) Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2) Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3) Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
        เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงินในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM (Haag et al.,2000)
        นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้
หน้าที่ การทำงานของ TPS
  •  งานเงินเดือน (Payroll)

- การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
- การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
  •  การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)

- การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
- การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์
  •  การเงินและการบัญชี

- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ (Finance and Accounting)
- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
- การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
  •  การขาย (Sales)

- การบันทึกข้อมูลการขาย
- การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
- การติดตามข้อมูลรายรับ
- การบันทึกการจ่ายหนี้
- การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
  • วัสดุคงคลัง

- การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน (Inventory Management)
- การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
- การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems:MIS)
              ในการใช้การประมวลผลรายการทำให้การประมวลผลการดำเนินการด้านธุรกิจทำได้รวดเร็วขึ้นและลด ค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานลงได้ แต่จะเห็นได้ชัดว่าข้อมูลที่เก็บได้จากการประมวลผลรายการ สามารถช่วยให้ผู้บริหารนำมาใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินงานได้ดีขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานด้านการจัดการของผู้บริหารขึ้นเรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
               ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหมายถึงกลุ่มของบุคคล, ขบวนการ,ซอฟต์แวร์, ฐานข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกจัดการเพื่อใช้ในการจัดการสารสนเทศที่เกิดขึ้นเป็นประจำให้แก่ผู้บริหารหรือผู้ทำการตัดสินใจ จุดประสงค์หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ อยู่ที่การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการตลาด, การผลิต, การเงิน และส่วนงานอื่นๆ โดยใช้และจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล 



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในการผลิตรายงานด้านการจัดการ ซึ่งจะใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจในระดับปฏิบัติงาน, ระดับยุทธวิธี และระดับกลยุทธ์ โดยรายงานที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับระดับของการจัดการในองค์กร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือรายงานตามตารางเวลา (Scheduled Report), รายงานกรณียกเว้น (Exception Report) และรายงานตามคำขอ (Demand Report)
                1. รายงานตามตารางเวลา แสดงข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรที่เกิดขึ้นตาม   ช่วงเวลา อาจจะเป็นช่วงรายวัน, รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี มีลักษณะคล้ายกับ ข้อมูลต้นฉบับที่ผ่านการประมวลผลมาจากหน่วยงานต่างๆ แต่เพิ่มการจัดกลุ่มข้อมูล และการสรุปข้อมูลลงไป เพื่อช่วยให้ผู้จัดการในระดับล่างสามารถตัดสินใจในการ ดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้จัดการระดับสูงกว่าได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการ ด้านการผลิตต้องการรายงานรายวันของสินค้าที่มีตำหนิจากฝ่ายการผลิตและรายงาน รายสัปดาห์ของจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นั้น
                2. รายงานกรณียกเว้น เป็นรายงานที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขบางอย่าง ซึ่งมักจะไม่ปกติ   จึงจำเป็นจะต้องมี รายงานออกมา โดยในรายงานจะมีข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้จัดการใน การตรวจสอบหาสาเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการทำการผลิตรายงานกรณียกเว้นเมื่อมีการทำงานล่วงเวลามากกว่า 10%  ของเวลาการทำงานรวมทั้งหมด เมื่อผู้จัดการฝ่ายผลิตได้รับรายงาน จะทำการหา  สาเหตุที่มีการทำงานล่วงเวลาเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากมีงาน การผลิตมากหรือเกิดจากการวางแผนงานไม่ดี ถ้าเกิดขึ้นจากการวางแผนไม่ดีแล้วจะได้ ทำการปรับปรุงแก้ไขแผนงานต่อไป
                3. รายงานตามคำขอ เกิดขึ้นตามคำขอของผู้จัดการในหัวข้อที่ต้องการ ซึ่งรายงาน อาจจะถูกกำหนดมาก่อนแล้ว แต่ไม่ทำการผลิตออกมาหรืออาจเป็นรายงานที่มีผลมา  จากเหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนใน รายงานอื่น หรือจากข้อมูลภายนอก เช่น  ถ้าผู้จัดการฝ่ายผลิตเห็นการทำงานล่วงเวลามากเกินกำหนดจากรายงานกรณียกเว้น  อาจจะทำการร้องขอรายงานที่แสดงถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ในการทำให้เกิดการ  ทำงานล่วงเวลาเกินกำหนด อาจจะได้แก่รายงานที่แสดงงานในด้านการผลิตทั้งหมด, จำนวนชั่วโมงที่ต้องการในการทำงานแต่ละงาน, และจำนวนการทำงานล่วงเวลา ของแต่ละงาน จะเห็นว่ารายงานนี้จะต้องใช้ข้อมูลที่รวบรวมอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้จัดการต่อไป


ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS)
                  เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน 
ลักษณะของระบบ ESS
                   ESS (Enterprise Support Systrem) ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ถูกออกแบบมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งใช้ในการวางแผนกลยุทธหรือแผนการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ระบบ ESS มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับปัญหาทแบบไม่มีโครงสร้างจึงต้องเน้นที่ความอ่อนตัวในการทำงานและสนับสนุนการสื่อสารมากกว่าที่จะสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะด้านเหมือนในระบบ MIS เท่านั้น ระบบ ESS ใช้ข้อมูลทั้งจากภายนอกองค์กร เช่นตารางการประกาศใช้กฎหมายใหม่ กำหนดการชำระภาษี หรือข้อความโฆษณาจากบริษัทคู่แข่ง และข้อมูลภายในองค์กร โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกกลั่นกรองข้อมูลและนำเสนอเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ช่วยให้การนำเสนอมีความสะดวกและง่ายแก่การรับรู้มากที่สุดเช่น การใช้รูปภาพกราฟฟิก
              ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณทั่วไปและการสื่อสารซึ่งจะตอบคำถามเช่น แนวโน้มการทำธุรกิจในอนาคตควรเป็นประเภทใดบริษัทคู่แข่งมีฐานะการดำเนินงานเป็นอย่างไร จะป้องกันผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แกว่งตัวได้อย่างไร
ลักษณะของระบบ ESS
  1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 
  2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน 
  3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก 
  4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า 
  5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร 
  6. มีระบบรักษาความปลอดภัย
เปรียบเทียบระบบ  ESS กับระบบสารสนเทศอื่น
ลักษณะของระบบ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารESS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
วัตถุประสงค์หลัก
สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจ
ควบคุมตรวจสอบการปฎิบัติการและสรุปผลสภาพการณ์
ข้อมูลนำเข้า
ข้อมูลสรุปจากภายในและภายนอกองค์การ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ผลการปฎิบัติงานขององค์การและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
รายงานวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ การพยากรณ์ การตอบข้อถาม
รายงานสรุป รายงานสิ่งผิดปกติ สารสนเทศที่มีโครงสร้าง
ผู้ใช้
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์
ผู้บริหารระดับกลาง
รูปแบบของการ ตัดสินใจ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ่อยรูปแบบไม่ชัดเจนหรือไม่มีโครงสร้าง
กึ่งโครงสร้าง และ ไม่มีโครงสร้าง
มีโครงสร้างแน่นอน
การใช้ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อม ไม่มีกฎเกณฑ์ แน่นอนตายตัวซึ่งขึ้นกับการเลือกนำข้อมูลไปใช้
ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในสถานการณ์เฉพาะด้านหรือเฉพาะเรื่อง
ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด


ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
     
ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น

คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
- ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
- ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
- ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
- ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
- ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
- ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่กล่าวมานั้นอาจสรุปย่อ ๆ ได้ดังแสดงในตารางต่อไปนี้