บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน
ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
• การควบคุมภายใน (internal control)
• การควบคุมภายนอก (external control)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน
ทำไมกิจการต้องมีการบริหารการเงิน (Financial Management)
ตามปกติแล้ว กิจการต้องการเงินทุน (Capital) จำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในสำหรับการลงทุนดำเนินธุรกิจ และขยายกิจการ โดยเงินทุนที่จัดหามานั้น แน่นอนว่า ควรมาจากแหล่งเงินทุนซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด หรือประหยัดสุด (Economy) หลังจากที่ได้เงินมาแล้ว ผู้ประกอบการก็ต้องดำเนินการจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่นั้นในสินทรัพย์ให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) อันจะนำมาซึ่งรายได้ และการเจริญเติบโตของกิจการต่อไป นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องมีการวิเคราะห์ พยากรณ์ และวางแผนทางการเงินในอนาคตเพื่อให้มั่นใจว่า มีเงินทุนพอเพียงในการดำเนินงาน และทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการเงินน้อยที่สุดอีกด้วย
จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นองค์ประกอบของการบริหารการเงินซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนควรทราบแต่เนื่องจากการเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเป็นจำนวนมากทำให้ต้องใช้เวลาในการคำนวณ อีกทั้งยังต้องการความละเอียดถูกต้องสูงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้กับการบริหารการเงินนั้นจึงถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงิน และลดความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นได้
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน
สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงินได้นั้น อาจพัฒนาขึ้นโดยการเขียนโปรแกรมไว้ใช้งานด้วยตนเอง หรืออาจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีก็เป็นได้ ซึ่งหนึ่งในโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้กับการบริหารการเงินอย่างแพร่หลาย ก็คือ โปรแกรม Microsoft Excel นั่นเอง โปรแกรม Microsoft Excel นั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน ทั้งในด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การหามูลค่าของเงินตามเวลา การพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ก็เพราะ Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษคำนวณ (Spread Sheet) ซึ่งช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภทตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นพิเศษทางการเงินซึ่งเรียกว่า "Financial Function" ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จรูปสำหรับการคำนวณหาข้อมูลทางการเงินประเภทต่างๆ อีกด้วย
ในที่นี้จะยกตัวอย่างบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน เกี่ยวกับ ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
บทบาทสำคัญของระบบการชำระเงิน
ระบบการชำระเงินมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบันมีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมด้านการชำระเงินที่มีความหลากหลาย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การชำระเงินด้วยบัตรพลาสติก อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าว นอกจาจะเอื้อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปมีความสะดวกสบายในการใช้บริการทางการเงินแล้วยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินด้วยการลดการใช้เงินสดซึ่งเป็นสื่อการชำระเงินที่มีต้นทุนสูง
ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการมีระบบอะไรบ้าง มี 3 ระบบได้แก่
(1). ระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ BAHTNET
(2). ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ ECS
(3). ระบบการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร หรือ ระบบ Media Clearing
ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
หมายความว่า การโอนสิทธิการถือครองเงิน หรือการโอนสิทธิการถอนเงินหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการ ที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการ ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ทั้งนี้ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความหมายกว้าง เป็นอันครอบคลุมการทำธุรกรรมการชำระเงินที่ใช้สื่อหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบในการทำรายการในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อันได้แก่
(1) การส่งคำสั่งทำรายการผ่าน Access Device ต่างๆ โดยผู้ส่งอาจเป็น Payer, Payee, Bank หรือ Payment Service Provider
(2) ประมวลผลหรือบันทึกรายการด้วยบัญชีหรือการเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ Micro Chip
(3) การรับส่งข้อมูลชำระเงินระหว่างขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายอนึ่ง รูปแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันอันมีองค์ประกอบดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จึงมีหลายรูปแบบ ได้แก่
- การให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต
- การให้บริการเครือข่ายอีดีซี (EDC : Electronic Data Capture)
- การให้บริการสวิทส์ชิ่งในการชำระเงิน
- การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)
- การให้บริการหักบัญชี
- การให้บริการชำระดุล
- การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทาง เครือข่าย เช่น โทรศัพท์มือถือ, Internet Payment Gateway
- การให้บริการรับชำระเงินแทน
1. เงินอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง หรือที่อาจเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น Multipurpose Stored Value Card, E-purse, E-Wallet เป็นต้น
2. บัตรอิเล็กทรอนิกส์
ธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ถ้านับรวมถึงการให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น เช่น โทรศัพท์ ATM และแฟกซ์ นอกเหนือจากธนาคารทั้ง 5 แห่งข้างต้นแล้ว ยังมี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) ที่ให้บริการด้านนี้อีกด้วย
(1) บริการ Cash Management คือการบริหารด้านการเงินของตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เช่น การสอบถามยอดคงเหลือในบัญชี สอบถามรายการเดินบัญชีปัจจุบันหรือย้อนหลัง สอบถามสถานะ และหรือโอนเงิน สอบถามอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
(2) บริการ Tele-Banking เป็นการใช้บริการของธนาคารผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยลูกค้าจะต่อสายมายังหมายเลขที่ธนาคารเปิดไว้ให้บริการ บริการพื้นฐานของการให้บริการทางโทรศัพท์คือ รับฟังข้อมูลอัตราดอกเบี้ยและแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การโอนเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
(3) บริการ ATM เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับคนทั่วไป โดยจะต้องมีบัตรเอทีเอ็มของธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ จากนั้นเมื่อต้องการฝาก ถอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
(4) บริการ SVC (Store Value Card) บัตรที่สามารถเก็บมูลค่าของตัวเองได้ เช่น smart card
Smart Card
สมาร์ตการ์ด คือบัตรพลาสติกที่มีชิพ IC (Integrated circuit) ติดหรือฝังอยู่ในตัวบัตรพลาสติกมีขนาดเท่าบัตรเครดิต เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลภายในตัวเองโดยวิธีการเข้ารหัสตามมาตรฐานเพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยสูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สมาร์ตการ์ดมีความแตกต่างจากบัตรพลาสติกทั่วไปก็คือ ขณะทำรายการ (Transaction) สมาร์ตการ์ดสามารถทำงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารกับระบบหลัก (Font End) นั้นก็คือสมาร์ตการ์ดไม่จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร กับศูนย์กลางข้อมูลเหมือนกับบัตรแถบแม่เหล็ก (Off-line) ทำให้ประหยัดในเรื่องระบบสื่อสารไปได้มาก