ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
( The Stock Exchange of Thailand -
SET)
เป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518[3] ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ
เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก
ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มี 2 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น. ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น. และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ
เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มี 2 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น. ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น. และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ
การดำเนินงานหลัก
1. การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน
· บริษัทจดทะเบียนประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็ม เอ ไอ
· บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET)
· บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
· หลักทรัพย์จดทะเบียน
· หุ้นสามัญ (Common Stocks)
· หุ้นบุริมสิทธิ (Prefer Stocks)
· หน่วยลงทุน (Unit Trusts)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์ (Warrant)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Tranferable Subscription Right:TSR)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Deposit Receipt:DR)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือวอแรนท์อนุพันธ์ (Derivative Warrants:DW)
· กองทุน ETF (Exchange Traded Fund)
· หุ้นกู้ (Debentures)
· พันธบัตร (Bond)
2.การให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์
· ระบบซื้อขายหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ฯได้พัฒนาระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Automated System For the Stock Exchange of Thailand:ASSET) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทสมาชิกและผู้ลงทุน โดยคำสั่งชื้อขายหลักทรัยพ์ที่ส่งเข้ามาจากบริษัทสมาชิก ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จะทำการจับคู่คำสั่งซี้อขายโดยอัตโนมัติ (Automatic Order Matching:AOM) ซึ่งจะเป็นไปตามเกณฑ์การจัดลำดับของราคาและเวลา โดยคำสั่งซื้อขายที่มีลำดับราคาและเวลาที่ดีที่สุดจะถูกจับคู่ซื้อขายก่อนหลังจากที่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขายแล้ว ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จะยืนยันรายการซื้อขายดังกล่าวกลับไปยังบริษัทสมาชิก เพื่อให้ทราบผลในทันที
นอกจากนี้ยังมีการซื้อขายรองที่เรียกว่า Put-through (PT) ซึ่งเป็นการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อและบริษัทสมาชิกผู้ขายได้เจรจาตกลงการซื้อขายกันก่อนแล้ว จึงให้บริษัทสมาชิกผู้ขายเป็นผู้บันทึกรายการซื้อขายเข้ามาในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริษัทสมาชิกผู้ซื้อเป็นผู้รับรองรายการซื้อขายดังกล่าว
· AOM : วิธีการซื้อขายแบบจับคู่คำสั่งอัตโนมัติ เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งคำสั่งซื้อขายผ่านคอมพิวเตอร์เข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพยฯ โดยระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพยฯจะเรียงลำดับและจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติด้วยหลักการราคาและเวลาที่ดีที่สุดซึ่งหมายความว่าคำสั่งซื้อที่มีราคาสูงที่สุดและคำสั่งราคาขายที่ราคาต่ำที่สุดจะถูกจัดคู่ซื้อขายก่อน
· PT : เป็นวิธีซื้อขายแบบมีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นวิธีการซื้อขายที่บริษัทหลักทรัพย์ผู้ซื้อและผู้ขายทำความตกลงซื้อขายหุ้นกันเอง เมื่อตกลงซื้อขายกันได้แล้วก็จะบันทึกรายละเอียดของรายการซื้อขายดังกล่าวผ่านระบบการซื้อขายเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ฯทราบ ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯอนุญาตให้ใช้การซื้อขายแบบ PT สำหรับการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot Trading) หรือเป็นการซื้อขายหุ้นที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ
สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย
· NP (Notice Pending) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ส่งงบการเงินหรือรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียน
· NR (Notice Received) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับการชี้แจงข้อมูลหรือรายงานจากบริษัทจดทะเบียนที่ขึ้นเครื่องหมาย NP แล้ว และจะขึ้นเครื่องหมาย NR เป็นเวลา 1 วัน
· H (Trading Halt) :เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย
· SP (Trading Suspension) :เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย
· XD (Excluding Dividend) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากผู้ลงทุนต้องการจะได้สิทธิในเงินปันผลดังกล่าว จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD
· XR (Excluding Right) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนในครั้งนั้นของบริษัท หากผู้ลงทุนต้องการได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XR
· XW (Excluding Warrant) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XW ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์
· XA (Excluding All) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XA ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับทั้งเงินปันผล ดอกเบี้ย และ สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทได้ประกาศจ่ายและจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ เครื่องหมายนี้จึงเหมือนกับเป็นเครื่องหมาย XD รวมกับ XR หรือ XW รวมกับ XR
กระดานการซื้อขายหลักทรัพย์หน่วยการซื้อขายและช่วงราคา
· กระดานหลัก (Main Board)
· กระดานหน่วยย่อย (Odd Board)
· กระดานพิเศษ (Special Board)
· กระดานรายใหญ่ (Big Lot Board)
· กระดานต่างประเทศ (Foreign Board)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดจำนวนหุ้นที่จะทำการซื้อขายบนกระดานหลัก เป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไป 1 หน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 100 หุ้น เท่ากันทุกหลักทรัพย์เช่นการซื้อขายหลักทรัพย์ ABC จำนวน 10 หน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 1,000 หุ้น ยกเว้นหลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกันจะกำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายเท่ากับ 50 หุ้น ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการซื้อขายหุ้นเป็นเศษของหน่วยการซื้อขาย เช่น 15 หุ้น , 77 หุ้น จะต้องซื้อขายบนกระดานหน่อยย่อย (Odd Lot Board)
ข้อกำหนดการซื้อขายหลักทรัพย์ตามช่วงราคา ขึ้นอยู่กับระดับราคาซื้อขายของแต่ละหลักทรัพย์ในขณะนั้นๆ ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ตั้งแต่ช่วงราคาละ 0.01 บาท จนถึง 2.00 บาท ช่วงราคา (เริ่มใช้ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป)
ระดับราคาเสนอซื้อ ช่วงราคา (บาท)
ต่ำกว่า 2 บาท 0.01
ตั้งแต่ 2 บาท แต่ต่ำกว่า 5 บาท 0.02
ตั้งแต่ 5 บาท แต่ต่ำกว่า 10 บาท 0.05
ตั้งแต่ 10 บาท แต่ต่ำกว่า 25 บาท 0.10
ตั้งแต่ 25 บาท แต่ต่ำกว่า 100 บาท 0.25
ตั้งแต่ 100 บาท แต่ต่ำกว่า 200 บาท 0.50
ตั้งแต่ 200 บาท แต่ต่ำกว่า 400 บาท 1.00
ตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป 2
· บริษัทจดทะเบียนประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็ม เอ ไอ
· บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET)
· บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
· หลักทรัพย์จดทะเบียน
· หุ้นสามัญ (Common Stocks)
· หุ้นบุริมสิทธิ (Prefer Stocks)
· หน่วยลงทุน (Unit Trusts)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์ (Warrant)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Tranferable Subscription Right:TSR)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Deposit Receipt:DR)
· ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือวอแรนท์อนุพันธ์ (Derivative Warrants:DW)
· กองทุน ETF (Exchange Traded Fund)
· หุ้นกู้ (Debentures)
· พันธบัตร (Bond)
2.การให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์
· ระบบซื้อขายหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ฯได้พัฒนาระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Automated System For the Stock Exchange of Thailand:ASSET) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทสมาชิกและผู้ลงทุน โดยคำสั่งชื้อขายหลักทรัยพ์ที่ส่งเข้ามาจากบริษัทสมาชิก ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จะทำการจับคู่คำสั่งซี้อขายโดยอัตโนมัติ (Automatic Order Matching:AOM) ซึ่งจะเป็นไปตามเกณฑ์การจัดลำดับของราคาและเวลา โดยคำสั่งซื้อขายที่มีลำดับราคาและเวลาที่ดีที่สุดจะถูกจับคู่ซื้อขายก่อนหลังจากที่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขายแล้ว ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จะยืนยันรายการซื้อขายดังกล่าวกลับไปยังบริษัทสมาชิก เพื่อให้ทราบผลในทันที
นอกจากนี้ยังมีการซื้อขายรองที่เรียกว่า Put-through (PT) ซึ่งเป็นการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อและบริษัทสมาชิกผู้ขายได้เจรจาตกลงการซื้อขายกันก่อนแล้ว จึงให้บริษัทสมาชิกผู้ขายเป็นผู้บันทึกรายการซื้อขายเข้ามาในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริษัทสมาชิกผู้ซื้อเป็นผู้รับรองรายการซื้อขายดังกล่าว
· AOM : วิธีการซื้อขายแบบจับคู่คำสั่งอัตโนมัติ เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งคำสั่งซื้อขายผ่านคอมพิวเตอร์เข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพยฯ โดยระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพยฯจะเรียงลำดับและจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติด้วยหลักการราคาและเวลาที่ดีที่สุดซึ่งหมายความว่าคำสั่งซื้อที่มีราคาสูงที่สุดและคำสั่งราคาขายที่ราคาต่ำที่สุดจะถูกจัดคู่ซื้อขายก่อน
· PT : เป็นวิธีซื้อขายแบบมีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นวิธีการซื้อขายที่บริษัทหลักทรัพย์ผู้ซื้อและผู้ขายทำความตกลงซื้อขายหุ้นกันเอง เมื่อตกลงซื้อขายกันได้แล้วก็จะบันทึกรายละเอียดของรายการซื้อขายดังกล่าวผ่านระบบการซื้อขายเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ฯทราบ ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯอนุญาตให้ใช้การซื้อขายแบบ PT สำหรับการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot Trading) หรือเป็นการซื้อขายหุ้นที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ
สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย
· NP (Notice Pending) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ส่งงบการเงินหรือรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียน
· NR (Notice Received) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับการชี้แจงข้อมูลหรือรายงานจากบริษัทจดทะเบียนที่ขึ้นเครื่องหมาย NP แล้ว และจะขึ้นเครื่องหมาย NR เป็นเวลา 1 วัน
· H (Trading Halt) :เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนนั้นเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งรอบการซื้อขาย
· SP (Trading Suspension) :เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย
· XD (Excluding Dividend) :เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายในงวดนั้น หากผู้ลงทุนต้องการจะได้สิทธิในเงินปันผลดังกล่าว จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD
· XR (Excluding Right) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนในครั้งนั้นของบริษัท หากผู้ลงทุนต้องการได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะต้องซื้อหุ้นนั้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XR
· XW (Excluding Warrant) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XW ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิในการได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์
· XA (Excluding All) :เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ณ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XA ผู้ลงทุนที่ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับทั้งเงินปันผล ดอกเบี้ย และ สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทได้ประกาศจ่ายและจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ เครื่องหมายนี้จึงเหมือนกับเป็นเครื่องหมาย XD รวมกับ XR หรือ XW รวมกับ XR
กระดานการซื้อขายหลักทรัพย์หน่วยการซื้อขายและช่วงราคา
· กระดานหลัก (Main Board)
· กระดานหน่วยย่อย (Odd Board)
· กระดานพิเศษ (Special Board)
· กระดานรายใหญ่ (Big Lot Board)
· กระดานต่างประเทศ (Foreign Board)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดจำนวนหุ้นที่จะทำการซื้อขายบนกระดานหลัก เป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไป 1 หน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 100 หุ้น เท่ากันทุกหลักทรัพย์เช่นการซื้อขายหลักทรัพย์ ABC จำนวน 10 หน่วยการซื้อขายจะเท่ากับ 1,000 หุ้น ยกเว้นหลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกันจะกำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายเท่ากับ 50 หุ้น ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการซื้อขายหุ้นเป็นเศษของหน่วยการซื้อขาย เช่น 15 หุ้น , 77 หุ้น จะต้องซื้อขายบนกระดานหน่อยย่อย (Odd Lot Board)
ข้อกำหนดการซื้อขายหลักทรัพย์ตามช่วงราคา ขึ้นอยู่กับระดับราคาซื้อขายของแต่ละหลักทรัพย์ในขณะนั้นๆ ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ตั้งแต่ช่วงราคาละ 0.01 บาท จนถึง 2.00 บาท ช่วงราคา (เริ่มใช้ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป)
ระดับราคาเสนอซื้อ ช่วงราคา (บาท)
ต่ำกว่า 2 บาท 0.01
ตั้งแต่ 2 บาท แต่ต่ำกว่า 5 บาท 0.02
ตั้งแต่ 5 บาท แต่ต่ำกว่า 10 บาท 0.05
ตั้งแต่ 10 บาท แต่ต่ำกว่า 25 บาท 0.10
ตั้งแต่ 25 บาท แต่ต่ำกว่า 100 บาท 0.25
ตั้งแต่ 100 บาท แต่ต่ำกว่า 200 บาท 0.50
ตั้งแต่ 200 บาท แต่ต่ำกว่า 400 บาท 1.00
ตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป 2
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI)
เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 มีจุดประสงค์การทำงานโดยทั่วไป เหมือนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือ ทำหน้าที่เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ แต่ตลาดใหม่นี้ จะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่ำของหลักทรัพย์ในตลาดหลัก คือ 200 ล้านบาท ในขณะที่ขั้นต่ำของตลาดใหม่ ลดลงเป็น 40 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงหรือบริษัทที่เริ่มดำเนินกิจการไม่นานแต่มีมูลค่าราคาตลาดที่สูงโดยถือเป็นทางเลือกอีกแห่งในการระดมทุน บริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตและต้องการระดมทุน หุ้นที่อยู่ในตลาดนี้จึงเป็นบริษัทขนาดกลางหรือเล็ก ซึ่งกฏเกณฑ์ในการจะเข้าตลาดได้จะผ่อนปรนกว่าการเข้าตลาดหลักทรัพย์ (SET) เช่น
สถานะ เป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ มีทุนชำระแล้ว > 20 ล้านบาท
การกระจายการถือหุ้นรายย่อย > 300 ราย ถือหุ้นรวมกัน > 20% ของทุนชำระแล้ว
การเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนจากสำนักงาน ก . ล. ต. จำนวนหุ้นที่เสนอขาย > 15 % ของทุนชำระแล้ว
ผลการดำเนินงาน มีผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง > 2 ปีก่อนยื่นคำขอ โดยมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ > 0 ไม่นับรวมต้นทุนทางการเงิน
กรณีผลการดำเนินงาน < 2 ปี ต้องมีผลการดำเนินงาน > 1 ปี และ Market Cap > 1,500 ล.บ.
ฐานะการเงิน ส่วนของผู้ถือหุ้น > 20 ล้านบาท
เวลาการซื้อขาย
ช่วงเวลาการซื้อขาย
|
หมายเหตุ
|
|
9.30 น.- T1
|
Pre-opening I
|
T1 เป็นเวลาที่ได้รับการสุ่มเลือกเวลา
เพื่อเลือกหาเวลาเปิดในช่วง 9.55-10.00น.และเป็นช่วงเวลาที่ให้สมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา
เพื่อให้ระบบ การซื้อขายนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมด มาเรียงลำดับและคำนวณหา
ราคาเปิดสำหรับ การซื้อขายในช่วงเช้าของแต่ละหลักทรัพย์
|
T1 - 12.30 น. | Trading Session I | ช่วงเวลาซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเช้า |
12.30 น.-14.00 น. | Intermission | ช่วงเวลาพักการซื้อขายระหว่างวัน |
14.00 น.- T2 | Pre-opening II | T2 เป็นเวลาเปิดที่ได้รับจากการสุ่มเลือกเวลา เพื่อเลือกหาเวลาเปิดในช่วง 14.25-14.30 น. และเป็นช่วงเวลาที่ให้สมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา เพื่อให้ระบบการซื้อขาย นำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดมาเรียงลำดับและ คำนวณหาราคาเปิดสำหรับการซื้อขายในช่วงบ่ายของแต่ละหลักทรัพย์ |
T2 - 16.30น. |
Afternoon Trading Session |
ช่วงเวลาซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงบ่าย |
16.30 น.- T3 | Call Market | เป็นช่วงเวลาที่ให้สมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาที่ระบบการซื้อขาย เพื่อให้ระบบการซื้อขายนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดมาเรียงลำดับ และคำนวณหาราคาปิดของแต่ละหลักทรัพย์โดยยังไม่มีการจับคู่ซื้อขาย จนกระทั่งระบบได้มีการ สุ่มเลือกเวลา เพื่อเลือกหาเวลาปิด (T3)ในช่วง 16.35-16.40 น. |
T3 - 17.00 น. | Off-hour Trading และ Market Runoff Period |
ตลาดหลักทรัพย์ปิดรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไป แต่อนุญาตให้สมาชิกสามารถดำเนินการ : 1. บันทึกรายการซื้อขายภายใต้หลักเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ (Off-hour Trading) โดยซื้อขายด้วยวิธี Put-through เท่านั้น 2. ยกเลิกการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับการซื้อขายแบบ Put-through ทั้งนี้การยกเลิกดังกล่าวต้องเป็นที่ยินยอมของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย 3. แก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทบัญชีลูกค้า (P/C Flag) โดยสามารถแก้ไขได้ทั้งการ ซื้อขายแบบ Automatic Order Matching และ Put-through |
17.00 น. | Market Close | ตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการซื้อขาย |
TFEX: Thailand Futures Exchange หรือ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยมีกำหนดการว่าจะเปิดการซื้อขายในวันที่ 28 เมษายน 2549 เป็นวันแรก
เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการบริหารเงินลงทุนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเป็นทางเลือกของการลงทุน ภายใต้ระบบซื้อขายที่มีความยุติธรรม โปร่งใส มีสภาพคล่อง และมั่นใจในระบบการซื้อขายและการชำระราคา
- เพื่อให้ผู้ลงทุนมีแหล่งข้อมูลที่สะท้อนความคาดหวังของผู้ที่อยู่ในตลาดที่มีต่อราคาสินทรัพย์ในอนาคต ส่งผลให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สินค้าที่สามารถซื้อขายในบมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ ได้ คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชัน (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ ได้แก่
? อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์
? อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
? อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่นๆได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน โดยในช่วงแรกของการเปิดตลาดนั้น TFEX ได้กำหนด ให้ สินค้าที่จะทำการซื้อขายได้แก่ ดัชนี SET 50 หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SET 50 Index Futures
SET50 Index Futures คือ สัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันในวันนี้ ว่าจะซื้อขาย SET50 Index ในราคาหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า (เช่น 3 เดือน, 6 เดือน เป็นต้น) และเนื่องจาก SET50 index นั้นเป็นดัชนีไม่ใช่หุ้น ผู้ซื้อผู้ขายไม่สามารถส่งมอบดัชนีกันได้ จึงมีการจ่ายชำระเงินกำไรขาดทุนกันแทน ทั้งนี้ เงินกำไรขาดทุนนั้น จะคำนวณจากส่วนต่างระหว่างระดับดัชนีที่ตกลงกันในวันนี้ กับ ระดับดัชนีในอนาคต แล้วแปลงให้เป็นจำนวนเงิน
ราคาในตลาด Futures หรือ ราคาในอนาคตนั้น อาจจะ มากหรือน้อยกว่า ราคาในตลาดจริง หรือตลาดปัจจุบันก็ได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนในการถือครอง และ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ว่าอะไรจะมากกว่ากัน โดย แยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
1. ราคาฟิวเจอร์ส (Future Price: F) ของสินทรัพย์ทางการเงิน เท่ากับ ราคาสินค้าในปัจจุบัน(Spot Price: S) บวกด้วยต้นทุนในการกู้ยืมเงินเพื่อถือสินทรัพย์จนถึงวันครบกำหนด หักลบกับ ผลตอบแทนจากตราสารทางการเงินนั้น
F=S+SrT-Sdt
F = ราคาสินค้าในอนาคต (Future price), S = ราคาสินค้าในปัจจุบัน (Spot price), r = ต้นทุนในการกู้ยืมเงิน (%), d = ผลตอบแทนจากตราสารทางการเงิน (%), T = อายุคงเหลือของสัญญา
2. ราคาฟิวเจอร์ส ของสินค้าโภคภัณฑ์ เท่ากับ ราคาสินค้าในปัจจุบัน บวกด้วยต้นทุนในการกู้ยืมเงินเพื่อถือสินค้าจนถึงวันครบกำหนด หักลบกับ ผลตอบแทนจากการถือครองสินค้านั้น
F=S+SrT+SwT-SyT
F = ราคาสินค้าในอนาคต (Future price), S = ราคาสินค้าในปัจจุบัน (Spot price), r = ต้นทุนในการกู้ยืมเงิน (%), d = ผลตอบแทนจากตราสารทางการเงิน (%), w = ต้นทุนในการถือครองสินค้า (%), y = ผลตอบแทนจากการถือครองสินค้า (%), T = อายุคงเหลือของสัญญา
ผู้ลงทุนในตลาด TFEX แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ ผู้ถัวความเสี่ยง (Hedgers), นักเก็งกำไร (Speculators) และ นักค้ากำไร (Arbitrageur) โดยมีรายละเอียดแต่ละประเภทดังนี้
? ผู้ถัวความเสี่ยง (Hedgers) คือ ผู้ที่ต้องการจะประกันความเสี่ยงของราคาสินค้าที่ตัวเองถือครองอยู่ โดยใช้กลไกของตลาด Futuresในการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อผู้จัดการกองทุนหนึ่ง มีมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ 100,000,000 บาท โดยลงทุนอยู่ในหุ้นทั้ง 50 ตัว ใน SET50 แต่เนื่องจากสภาพตลาดหุ้นในช่วงนั้นมีความผันผวน และอาจจะมีแนวโน้มลงได้ ซึ่งจะทำให้มีผลขาดทุน โดยผู้จัดการกองทุนยังไม่ต้องการขายหุ้นดังกล่าวทิ้งไป เพราะกำลังรอปันผลที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตอยู่ แต่ใน 3 เดือนข้างหน้านี้ คาดว่าหุ้นจะลงไปประมาณ 10% ของราคาปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ผู้จัดการกองทุนขาดทุนได้ ดังนั้นผู้จัดการกองทุนนี้ จึงทำการ Short Position ไว้ใน ตลาด TFEX ณ ราคาในปัจจุบันของตลาด หากว่าอีก 3 เดือนข้างหน้า หุ้นตกจริง ผู้จัดการกองทุนก็จะขาดทุนในตลาดหุ้น แต่จะได้กำไร จากการเปิด Short Position ในตลาดฟิวเจอร์สไว้ มาชดเชย และถึงแม้ว่าหุ้นจะไม่ตกจริงๆ อย่างที่ผู้จัดการกองทุนคาดไว้ ก็ยังคงได้กำไร จากตลาดจริง มาชดเชยในส่วนที่คาดทุนจากตลาด ฟิวเจอร์สได้ ดังนั้น ผู้จัดการกองทุน สามารถจำกัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยใช้ตลาดฟิวเจอร์ส
? นักเก็งกำไร (Speculators) เป็นผู้ที่เข้ามาสู่ตลาดโดยหวังกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาขาย โดยยอมรับความเสี่ยงที่อาจขาดทุนได้หากทิศทางของราคาไม่เป็นไปตามที่คาด เช่น หากนักลงทุนเห็นราคาในตลาดฟิวเจอร์สต่ำเกินไป คือคาดว่า ราคาในอีก 3 ? 6 เดือนข้างหน้า ราคาน่าจะสูงกว่านี้ นักลงทุนก็สามารถ เข้ามาเปิด Long Position ไว้ เมื่อราคาขึ้นจริงๆ ใน 3 เดือนต่อมา นักลงทุนก็สามารถปิดสถานะ โดยทำการ Short Position ในสัญญานั้น เพื่อรับกำไร แต่หากคาดการณ์ผิดทาง ก็อาจทำให้มีผลขาดทุนได้ด้วยเช่นกัน
? นักค้ากำไร (Arbitrageurs) เป็นผู้ที่เข้ามาทำกำไรในความไม่เท่าเทียมกันของข่าวสารข้อมูลในตลาด เช่น ในกรณีที่ราคาปัจจุบันของ SET 50 Index ต่ำกว่า ราคา Futures ของ SET 50 Index นักค้ากำไร จะซื้อหลักทรัพย์ใน SET 50 Index ในตลาดจริง และเปิดสถานะ Short Position ในตลาดฟิวเจอร์ส และนักค้ากำไร ก็จะได้กำไรจากทั้ง 2 ตลาด แต่เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดไม่บ่อยนัก เพราะเมื่อนักลงทุนเห็นช่องว่างของราคาดังกล่าวก็จะเข้ามาในตลาดทั้งสอง โดยทำให้ราคาในตลาดจริงสูงขึ้น และทำให้ราคาในตลาดฟิวเจอร์สต่ำลง จนไม่มีช่องว่างของราคาพอที่จะทำกำไรได้อีก
บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ มีแผนจะเปิดให้ซื้อขายฟิวเจอร์สของดัชนี SET50 (SET50 Index Futures) เป็นสินค้าแรก และต่อไปจะจัดให้มีการซื้อขายฟิวเจอร์สของสินค้าอ้างอิงในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล (Bond Futures) หรือฟิวเจอร์สของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Futures) สำหรับฟิวเจอร์ส และ ออปชันของสินค้าอ้างอิงประเภทอื่น ๆ นั้น จะเปิดให้ซื้อขายในลำดับต่อ ๆ ไป
สัญญาฟิวเจอร์ส นั้น หมายถึง สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นสัญญาที่ถูกจัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย โดยกำหนดว่าจะมีการซื้อขายสินค้าอ้างอิง (Underlying) อย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต ตามราคาที่ตกลงไว้ โดย ในตลาด TFEX นี้มีข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า สินค้าตัวแรก คือ SET 50 Index Futures ดังนี้ ?? คลิกที่นี่
ผู้ที่เข้ามาลงทุนใน TFEX ไม่จำเป็นเพราะ นักลงทุนที่เข้ามาอาจจะเข้ามาในฐานะของนักเก็งกำไร ก็ได้ โดยคาดการณ์ว่า ราคาควรจะไปในทิศทางใด เช่น หากคาดว่าราคาจะขึ้น ก็ให้เปิดสถานะ Long Position ก่อน เมื่อราคาขึ้นจริง ก็ปิดสถานะ โดย Short Position และรับกำไรที่ได้จากส่วนต่างของราคา หรือถ้าคาดว่าราคาจะลง ก็ให้เปิดสถานะ Short Position ก่อน เป็นต้น
ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)
จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)
เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย
เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปีพ.ศ. 2542 และเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ โดยภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎระเบียบที่ชัดเจน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และเพื่อให้การจัดตั้งตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้าบรรลุวัตถุประสงค์คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้นำเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 600 ล้านบาทเพื่อใช้ในการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย